วันจันทร์ที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2557

Use Case Diagram

         Use Case Diagram
ประโยชน์ของ Use Case Diagram   

-ช่วยให้ผู้พัฒนาระบบสามารถแยกแยะกิจกรรมที่อาจจะเกิดขึ้นในระบบ
-เป็น diagram พื้นฐาน ที่สามารถอธิบายสิ่งต่าง ๆ ได้โดยใช้รูปภาพที่ไม่ซับซ้อน
-Use Case Diagram จะมีประสิทธิภาพ หากผู้เขียนมีความเข้าใจใน problem domain อย่างแท้จริง

System & Use Case Diagram

•ในระบบใหญ่มักแบ่งระบบออกเป็นระบบย่อย เรียกว่า Subsystem
–ใน use case diagram จะใช้ Use Case แทน Subsystem
•ผู้ใช้งานระบบจะเรียกว่า User
–ใน use case diagram จะใช้ Actor แทน User

สัญลักษณ์




ความสัมพันธ์ของ use case มี 2 แบบ
-Uses
-Extends
1. Uses หมายถึง  การที่ use case หนึ่งเรียกใช้งาน use case อีกอันหนึ่ง

คล้ายกับการเรียกใช้งานโปรแกรมย่อยโดยโปรแกรมหลัก  uses ของ uses case เหมือนกับ generalization เปรียบได้กับ specialize class

สัญลักษณ์ของ Uses

ลูกศรหัวสามเหลี่ยมใส
ชี้ไปยัง use case ที่ถูกเรียกใช้งาน
มีคำว่า <<uses>> กำกับอยู่บนเส้น

2.Extecds หมายถึง ถึง การที่ use case หนึ่งไปมีผลต่อการทำงานตามปกติของอีก use case หนึ่ง  use case ที่มา extend นั้นจะมีผลให้การดำเนินงานของ use case ที่ถูก extend ถูก รบกวนหรือมีการสะดุด หรือมีการเปลี่ยนกิจกรรมไป



สัญลักษณ์ของ Extends

เส้นปะพร้อมหัวลูกศร
ชี้ไปยัง use case ที่ถูก extends
มีคำว่า <<extends>> กำกับอยู่บนเส้น

Use Case & Scenario

use case จะอธิบายทุกกรณีที่เกิดขึ้นได้ทั้งหมดของระบบ
– use case เปรียบเสมือน class
scenario หมาย ถึง เหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นภายใต้เงื่อนไขต่าง ๆ ของ use case นั้น ซึ่งอาจจะไม่ได้เกิดทุก ๆ กรณีที่ระบุใน use case ก็ได้
– scenario เปรียบเสมือน object

ตัวอย่าง Use Case
 ผู้ใช้งานสอดบัตร ATM เข้าสู่เครื่องรับบัตร หากบัตรใช้งานได้จึงเข้าสู่หน้าจอ Main Menu หากใช้งานไม่ได้บัตร ATM จะถูกปล่อยคืน (Reject) ออกมา หากบัตรใช้ได้ ผู้ใช้งานต้องระบุประเภทบัญชีและจำนวนเงินที่ต้องการถอน หากมีเงินในบัญชีมากกว่าหรือเท่ากับจำนวนที่ระบุ ผู้ใช้งานสามารถนำเงินออกจากเครื่อง ATM ได้

ตัวอย่าง scenario

Scenario ที่ 1
นายสมชายสอดบัตร ATM ของธ.กรุงเทพ สาขาหาดใหญ่ แต่บัตรเสีย บัตรจึงถูก reject ออกมา

Scenario ที่ 2
นางสมใจสอดบัตร ATM ของธ.ทหารไทย สาขาบางเขน บัตรสามารถใช้การได้ แต่เงินในบัญชีไม่พอจ่าย จึงไม่สามารถนำเงินไปใช้ได้


Scenario ที่ 3
นายสมบัติสอดบัตร ATM ของ ธ.ทหารไทย สาขาบางเขน บัตรสามารถใช้การได้ และมีเงินในบัญชีเพียงพอ เขาต้องการถอน 100 บาท แบะในบัญชีมีเงินจำนวน 250 บาท ดังนั้นนายสมบัติจึงสามารถนำเงินออกจากเครื่อง ATM ไปใช้ได้

ตัวอย่าง Uses Case Diagram ที่มี Uses

จงสร้าง use case diagram เพื่ออธิบายการตรวจสอบ user ที่เข้ามาในระบบคอมพิวเตอร์ขององค์กรต่าง ๆ ต้องมีการตรวจสอบรหัสผ่านรวมอยู่ด้วย โดย actor ของระบบนี้คือผู้จัดการระบบ

ขั้นตอนที่ 1 หาUse Case และ Actor ของระบบ

*use case ของระบบคือ
–การตรวจสอบ user (Validate user)
–การตรวจสอบรหัสผ่าน (Check password)
*actor ของระบบคือ
–ผู้จัดการระบบ (System Administrator)
ขั้นตอนที่ 2 : เขียน scenario ของระบบ

*scenario ที่ 1 : user ป้อน password ที่ถูกต้อง
–การตรวจสอบ password ใน use case ชื่อ check password   ตรวจสอบได้ถูกต้อง ทำให้กิจกรรมใน validate user ดำเนินต่อไปได้
ขั้นตอนที่ 2 : เขียน scenario ของระบบ

*scenario ที่ 2 : user ป้อน password ที่ไม่ถูกต้อง
–ทำให้ use case ชื่อ check password   ถูกเรียกใช้อีกหลายครั้งจนกว่าจะถูก หรือจนกว่าจะครบ 3 ครั้ง จึงตัด user คนนั้นออกจากระบบ

ขั้นตอนที่ 3 : เขียน use case diagram



ตัวอย่าง Uses Case Diagram ที่มี Extends

จงสร้าง use case diagram ที่แสดงการรับโทรศัพท์ ซึ่งขณะที่รับโทรศัพท์ปกติ หากมีสายเรียกซ้อนเข้ามา อาจทำให้ต้องมีการรับสายเรียกซ้อนก่อน ซึ่งทำให้การรับสายโทรศัพท์ตามปกติต้องชะงักชั่วคราว

ขั้นตอนที่ 1 : หา use case และ actor ของระบบ

*use case ของระบบคือ
–การรับโทรศัพท์
–การรับสายเรียกซ้อน
*actor ของระบบคือ
–ผู้รับโทรศัพท์

ขั้นตอนที่ 2 : เขียน scenario ของระบบ

*scenario ที่ 1 : เกิดสายเรียกซ้อน
–เมื่อเกิดสายเรียกซ้อน ทำให้ use case การรับโทรศัพท เกิดการชะงักงัน ซึ่งผู้รับอาจหยุดการสนทนาชั่วขณะ
–หรือผู้รับเปลี่ยนไปรับสายที่เรียกซ้อนแทน
*scenario ที่ 2 : ไม่เกิดสายเรียกซ้อน

ขั้นตอนที่ 3 : เขียน use case diagram


ตัวอย่าง การเขียน use case diagram

จงสร้าง use case diagram เพื่ออธิบายการลงทะเบียนของนักเรียน ซึ่งเกิดจากผลของการวิเคราะห์ความต้องการเบื้องต้น สามารถเขียนเป็นรายการได้ดังนี้

อีกตัวอย่างแบบเป็นโจทย์

ในแต่ละภาคการศึกษาจะมีการลงทะเบียนของนักศึกษา โดยนักศึกษาที่ลงทะเบียนในแต่ละภาคการศึกษาจะมี 2 ประเภทคือ
–นักศึกษาปัจจุบัน
–นักศึกษาใหม่

การลงทะเบียนในแต่ละครั้งจะมีการเก็บหลักฐานและค่าเล่าเรียน  ซึ่งการลงทะเบียนเรียนจะเสร็จสิ้นได้ก็ต่อเมื่อหลักฐานที่ได้รับมาครบถ้วนถูกต้อง และในขณะเดียวกันเงินค่าเล่าเรียนที่เรียกเก็บได้ก็ต้องมีจำนวนครบถ้วนด้วย  เจ้าหน้าที่ของสถาบันการศึกษาจะเป็นผู้จัดการในเรื่องของการจัดเก็บหลักฐานและค่าเล่าเรียนทั้งหมด และผู้จ่ายเงินต้องเป็นนักเรียนเท่านั้น  สำหรับนักศึกษาบางคนที่ได้รับสิทธิพิเศษเช่น
–ได้รับทุนเรียนฟรี
–เป็นนักกีฬาของสถาบัน
–หรือเป็นผู้ทำชื่อเสียงให้สถาบัน
จะมีสิทธิได้รับยกเว้นค่าเล่าเรียนในบางภาคการศึกษา
*use case ของระบบคือ
–การลงทะเบียนนักศึกษา
–การเก็บหลักฐาน
–การชำระค่าเล่าเรียน




 use case ที่เกี่ยวข้องคือ
–การลงทะเบียนนักศึกษา
•การลงทะเบียนนักศึกษาใหม่


•การลงทะเบียนนักศึกษาปัจจุบัน


–การเก็บหลักฐาน
•หลักฐานไม่พร้อม
หา use case อื่นที่เกี่ยวข้องคือ

–การชำระค่าเล่าเรียน


•มีเงินไม่พอชำระค่าเล่าเรียน
•ได้รับการยกเว้นค่าเล่าเรียน
Actor ของระบบ คือ
-เจ้าหน้าที่
-นักศึกษา







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น